วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ตอนที่ 1 : ศาสตร์แห่งการลงทุน


การลงทุนนั้นคือส่วนหนึ่งของชีวิต

ปัจจัยหนึ่งในการดำเนินชีวิตนั่นก็คือเรื่องของเงิน หลายคนอาจจะมองว่าการลงทุนนั้นเป็นเรื่องที่ไกลตัวแต่แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่เลย

ทุกวันนี้ผมยังคงสงสัยว่าทำไมหลักสูตรเกี่ยวกับการลงทุนนั้นยังไม่ถูกสอนอยู่ในหลักสูตรของการศึกษา

มีคนจำนวนมากที่ประสบความสำเร็จในการงาน แต่ไม่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการเงิน

ไม่ใช่ว่าเพราะพวกเขาไม่เก่ง แต่พวกเขานั้นไม่ได้ถูกสอนมาให้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของเงิน

หลายคนถูกสั่งสอนมาว่า...

  • การที่มีเงินมากๆนั้นไม่ดี ชีวิตเครียด
  • คนที่มีเงินมากๆนั้นส่วนใหญ่เป็นคนโกง
  • จะรวยไปทำไมในเมื่อตายไปก็เอาไปไม่ได้
  • ใช้ชีวิตพอเพียงก็พอแล้ว
  • คิดแต่เรื่องเงินปวดหัวเปล่าๆ

ประเด็นนี้ผมขออธิบายให้ชัดเจนว่าการมีเงินมากๆนั้น
  • มีเงินเยอะกับเรื่องของความเครียดมันไม่เกี่ยวกัน
  • คนรวยที่เป็นคนดีก็มีเยอะ อย่างเช่นวอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่เขาบริจาคเงินแทบทั้งหมดของเขาแก่องค์กรการกุศล
  • ตายไปเอาเงินไปไม่ได้จริง แต่ถ้าคุณมีเงินคุณสามารถที่จะสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่นในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ได้
  • คนที่รวยก็สามารถใช้ชีวิตอย่างพอเพียงได้
  • ไม่มีกินนี่ปวดหัวยิ่งกว่า
เพราะ Mindset หรือสิ่งที่ถูกปลูกฝังมาผิดๆ ทำให้คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตผิด หลายคนอาจจะคิดว่า โอเคเราทำงานมาทั้งชีวิตเพื่อสะสมเงินไว้ใช้ยามแก่

ประเด็นคือ!! ยามแก่ของเรานี่เท่าไหร่ถึงจะพอ 
  • บางคนบอกว่า 10 ปี หลังเกษียณ ฉันจะต้องมีเงินเก็บ 10 ล้านบาท !
  • บางคนบอกว่า 20 ปี หลังเกษียณ ฉันจะต้องมีเงินเก็บ 20 ล้านบาท !
  • บางคนบอกว่า 30 ปี หลังเกษียณ ฉันจะต้องมีเงินเก็บ 30 ล้านบาท !
คำตอบคือผิดหมด!!

เพราะเราไม่รู้หรอกว่าเราจะตายเมื่อไหร่ และค่าใช้จ่ายในอนาคตกับค่าใช้จ่ายตอนนี้

มันก็คนละราคากัน!!

ความคิดที่ว่าเก็บเท่าไหร่ถึงจะพอนั้น ในทางปฎิบัติไม่มีทางที่จะเป็นไปได้เลย

เพราะถ้าวันใดก็ตามที่คุณเงินหมดในวันที่ไม่มีแรงจะทำอะไรแล้ว นั่นคือชีวิตที่ตายทั้งเป็น

แต่โลกของเราก็ไม่ได้โหดร้ายขนาดนั้น

ในโลกเรายังคงมีศาสตร์หนึ่งที่ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลก 

และมันก็ได้ทำหน้าที่ของมันอย่างสมเหตุสมผล

สิ่งนั้นนั้นเราเรียกว่า "ศาสตร์แห่งการลงทุน"



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น